วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

ดอยดัง..นางแล



ดอยดัง..นางแล

ลักษณะทั่วไปของดอยดัง
          เป็นป่าดงดิบ บริเวณดอยดังเป็นลานหินกว้าง ถ้าใช้ไม้กระทุ้ง จะเกิดเสียงดังกึกก้อง ระหว่างเดินทางถึงบริเวณดอยดังจะพบน้ำตก 3 แห่ง ทางเดินไปถึงดอยดังจะมีความลาดเอียงประมาณ 45 องศา



การเดินทาง
                               เดินทางจาก ห้าแยกพ่อขุนเม็งรายฯ ไปถึงทางเข้าบ้านนางแลในระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร จากทางแยกบ้านนางแลใน(บ้านเด่น) ไปถึงหมู่บ้านลิไข่(บ้านชาวเขา) ระยะทาง 5 กิโลเมตร จากบ้านลิไข่ถึงดอยดังระยะทาง 3 กิโลเมตร จะต้องเดินเท้า (ระหว่างทางจะพบน้ำตกตาดฝน,น้ำตกตาดฮัง,น้ำตกตาดถ้ำ)      รถบัส สามารถจอดบริเวณผาราดรอยวัว ส่วนรถยนต์สามารถจอดบริเวณโรงเรียนบ้านลิไข่  

ภูหลงถัง
                        ภูหลงถัง "ดินแดนสระน้ำมังกร" สระน้ำที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติอยู่เหนือระดับน้ำทะเล 1200 เมตร ชนเผ่าม้งในแถบนี้เชื่อว่าเป็นที่อยู่ของมังกร ภูหลงถังตั้งอยู่ห่างจากถนนเทิง-ขุนตาล-เชียงของ เพียง 6 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางเพียง 15 นาที
              ภูหลงถัง เป็นยอดเนินที่สูงสามารถชมทิวทัศน์ได้ถึง 4 อำเภอ คือ อำเภอพญาเม็งราย อำเภอขุนตาล อำเภอเวียงแก่น และอำเภอเทิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถมองเห็นยอดภูชี้ฟ้าได้อย่างชัดเจน เนื่องจากอยู่ห่างจากภูชี้ฟ้าประมาณ 18 กิโลเมตร




ภูหลงถังเป็นจุดเริ่มต้นในการท่องเที่ยว 3 ภู ใน 1 วัน สถานที่แห่งนี้เป็นดินแดนประวัติศาสตร์ อดีตเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการสู้รบระหว่างรัฐบาลกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไท




ภูผาตั้ง
                ภูผาตั้งอยู่ห่างจากภูหลงถังเพียง 32 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านชาวจีนคณะชาติ ซึ่งอพยพมาจากมณฑลยูนาน ประเทศจีน มีจุดชมวิวตามแนวจุดชายแดนไทย-ลาว เรียกว่า ผาบ่องประตูสยามประตูสู่ลาว ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 2 กิโลเมตร สูงเหนือระดับน้ำทะเล 1,635 เมตร อากาศหนาวเย็นตลอดปี ทั้งนี้ยังมีจุดชมวิวอีกหลายจุด เช่น ศาลาอนุสรณ์นายพลลี ช่องเขาขาด เนิน 102-103 ในบริเวณดังกล่าวสามารถชมทะเลหมอก พระอาทิตย์ขึ้นและลับฟ้า ซึ่งมีความสวยงามมาก อีกทั้งยังสามารถมองเห็นแม่น้ำโขงไหลคดเคี้ยวเข้าสู่ประเทศลาว รวมถึงการได้ลิ้มรสชาดอาหารจีนสไตล์ยูนาน 

นอกจากแหล่งท่องเที่ยวที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น ถ้ำ น้ำตก สถานที่ร่องรอยการสู้รบในสงครามความขัดแย้งทางอุดมการณ์ เช่น บ้านทหารเก่า หมู่บ้านวัฒนธรรม ประเพณีชนเผ่ามากมาย ในตำบลปอ

ภูชี้ฟ้า
              
                ภูชี้ฟ้าเป็นจุดชมวิวพระอาทิตย์ขึ้นสลายหมอกอีกแห่งหนึ่ง อยู่ห่างจากภูผาตั้งไม่กี่กิโลเมตร มีลักษณะเป็นยอดเขาที่แหลมชี้ชันไปบนท้องฟ้า อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1628 เมตร โดยมีหน้าผาเป็นแนวยาวยื่นไปทางฝั่งประเทศลาว บนยอดภูชี้ฟ้าเป็นทุ่งหญ้ากว้างแซมด้วยทุ่งโคลงเคลงที่มีดอกสีชมพูอมม่วง ซึ่งจะบานระหว่างเดือนกรกฎาคม-มกราคม จะมีความสวยงามเป็นอย่างยิ่ง 


นอกจากนั้นในหมู่บ้านร่มฟ้าทองยังมีศูนย์ศิลปาชีพและพลับพลาทรงงานของ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถดอกนางพญาเสือโคร่ง (ซากุระ) บานสีชมพู มีความงามยิ่งในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม จะได้เห็นดอกเสี้ยวบาน (ชงโคป่า) สีขาวแซมชมพูบดบังด้วยไอหมอกขาวงดงามยิ่งนัก สุดที่จะบรรยายความงามนี้ได

สวนชาบ้านห้วยส้านพลับพลา
             ตั้งอยู่ที่ หมู่ 5 ต.โป่งแพร่ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย ตำบลโป่งแพร่มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับ พื้นที่ราบ ระหว่างภูเขาและพื้นที่ส่วนใหญ่อยุ่ในเขตป่าสงวน ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญ เช่น ลำน้ำห้วยส้านพลับพลา ลำห้วยชมภู ลำห้วยแม่มอญ
               อาชีพส่วนใหญ่ของคนตำบลโป่งแพร่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร โดยเฉพาะบ้านห้วยส้านพลับพลามีการปลูกชาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชา จำนวนมากและปัจจุบัน กำลังได้รับการพัฒนาให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวสวนชา หรือ OTOP Toursim Village



หุบทะเลหมอกภูชี้ฟ้า

คุณประโยชน์สมอไทย

สมอไทย

ในสมัยพุทธกาล เวลาพระพุทธเจ้าประชวรหรือพระสงฆ์อาพาธก็มักเสวยหรือฉันผลสมอไทยเป็นยาหลัก จนได้รับยกย่องว่าเป็นพุทธโอสถ ดังมีพระพุทธรูปปางทรงสมอปรากฏเป็นหลักฐาน ถ้าใครอ่านพระราชประวัติของพระเจ้าอโศกมหาราช ชาวพุทธก็จะทราบว่าตอนที่พระองค์ประชวรครั้งสุดท้าย ก็ทรงเสวยผลสมอไทยเหลือไว้ครึ่งลูก และทรงพระราชทานผลสมอไทยครึ่งลูกนั้นแด่พระสงฆ์เป็นทานครั้งสุดท้าย

สารสกัดจากสมอไทยได้รับการยอมรับว่าเป็นราชาสมุนไพร เนื่องจากฤทธิ์ในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกายและบำบัดโรคหลายชนิด มีสารพวกแทนนิน (tannin) จึงใช้เป็นยาสมาน แก้ลมจุกเสียด ยาเจริญอาหาร ยาบำรุง เป็นยาชงอมกลั้วคอแก้เจ็บคอ ขับน้ำเหลืองเสีย ใช้ภายนอกบดเป็นผงละเอียดโรยแผลเรื้อรัง ใช้รักษาโรคฟันและเหงือกเป็นแผล เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้พิษร้อนภายใน แก้ลมป่วง ระบายลม รู้ถ่ายรู้ปิดเอง คุมธาตุในตัวเสร็จ ถ่ายพิษไข้
สารสกัดจากสมอไทยได้รับการยอมรับว่าเป็นราชาสมุนไพร เนื่องจากฤทธิ์ในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกายและบำบัดโรคหลายชนิด
ใขณะเดียวกันยังสามารถบำรุงสุขภาพ และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย
ในประเทศอินเดีย สารสกัดจากสมอไทยใช้ในการรักษาโรคหลายชนิด เช่น โรคระบบทางเดินอาหาร อาการอาหารไม่ย่อย โรคระบบทางเดินปัสสาวะ โรคเบาหวาน โรคผิวหนัง โรคพยาธิ โรคหัวใจ อาการไข้เป็นระยะ อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก แผลในทางเดินอาหาร อาเจียน อาการเจ็บปวดในลำไส้ และริดสีดวงทวารหนัก
นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อไวรัส รวมทั้งเชื้อ HIV และแบคทีเรียบางชนิด บำรุงหัวใจ ต้านอนุมูลอิสระและชะลอความชรา นอกจากนี้ ยังช่วยควบคุมระดับไขมันในเส้นเลือด และช่วยการทำงานของตับในการกำจัดไขมันออกจากร่างกาย รวมทั้งกระตุ้นการเผาผลาญของร่างกายได้อีกด้วย
เมื่อกินสมอไทยอย่างเดียวก็เท่ากับกินสมุนไพรหลายๆ อย่าง กล่าวกันว่า ถ้าใครกินสมอไทยวันละ 1 ลูก เป็นประจำทุกวัน โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ จะไม่มากล้ำกรายเลย
วิธีกิน เอาสมอไทย 1 ลูก แช่ในน้ำ 1 แก้ว เป็นเวลา 1 คืน ตื่นเช้ากินทั้งน้ำและเนื้อ โดยทั่วไปยาบำรุงกำลังมักจะมีสรรพคุณบำรุงกำหนัดควบคู่กันไป แต่สมอไทยกลับตรงกันข้าม คือ แทนที่จะเพิ่มกลับลดกำหนัด ด้วยเหตุนี้เองกระมัง พระพุทธเจ้าจึงทรงเลือกสมอไทยเป็นยาสำหรับพระสงฆ์สาวกฉันบำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลีย โดยช่วยลดความกำหนัดไปในตัว
สรรพคุณเด่นอีกข้อของสมอไทยที่ควรขยายความในที่นี้คือ แก้โรคท้องผูก ยาทั่วไปอาจจะช่วยถ่ายท้องได้ แต่แก้โรคท้องผูกไม่ได้ มิหนำซ้ำถ้าหยุดยากลับจะทำให้ท้องผูกหนักขึ้น ในคนที่ท้องผูกเรื้อรังมักจะมีอาการร้อนใน ปากเปื่อย ตาไม่มีประกาย แม้จะกินผักผลไม้ กินน้ำ ออกกำลังกาย แล้วก็ยังไม่หายท้องผูก ควรจะหันมากินสมอไทยเพื่อช่วยให้โรคท้องผูกเรื้อรังหายไป เพราะสมอไทยไม่ใช่ยาถ่ายเท่านั้นแต่ยังช่วยชำระล้างลำไส้ให้สะอาด มีสมรรถภาพในการบีบตัว ขับถ่ายได้คล่องตัว
วิธีกินสมอไทยแก้โรคท้องผูก ต้องกินวันละ 3-5 ลูกทุกวัน จนอาการท้องผูกหายไป จึงหยุดกินยา คนที่ผูกขาดอำนาจจนท้องผูกลองกินสมอไทย วิธีนี้ดูอาจจะได้ผล
สมอไทยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Terminalia chebula Retz. จัดอยู่ในวงศ์ COMBRETACEAE
สมอภิเพก สมุนไพรไทย เข้ายาพิกัด ตรีผลา อันได้แก่ผลไม้ 3 อย่างคือ สมอไทย มะขามป้อม สมอภิเพก เป็นยาแก้ไข้ แก้ไอ รู้ปิดรู้เปิด พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ทานผลไม้ทั้ง3ได้หลังเวลาเที่ยง เพราะท่านถือว่าเป็นยา